สะพรึง ทุ่งบัวหลวง 150 ไร่ จากที่เคยสวยงามไม่กี่วันตายเรียบ เข้าไปดูใกล้ๆ ถึงรู้สาเหตุ เห็นแล้วขนลุกซู่
วันนี้ (5 มิถุนายน 2567) เกิดเหตุการณ์สร้างความตกตะลึงแก่ผู้ที่ผ่านไปผ่านมา บริเวณสวนสาธารณะบึงพระ ที่บ้านบึงพระ ต.ท่าลาดขาว อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา เป็นแหล่งท่องเที่ยว จุดชื่นชมความงามของทุ่งดอกบัวหลวง จำนวนกว่า 150 ไร่ ซึ่งก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยังเต็มไปด้วยบัวหลวงดอกสีชมพูสะพรั่งทั่วบึงสวยงามอย่างมาก แต่ผ่านมาตอนนี้ บัวทั่วทั้งบึงกลับเหี่ยวเฉากลายเป็นบึงสีน้ำตาล ถูกฝูงหนอนบุ้งใบบัว บุกกัดแทะใบและดอกจนเกลี้ยงทั้งบึง โดยชาวบ้านแถบนี้บอกว่า ใช้เวลาไม่ถึง 2 อาทิตย์ หนอนบุ้งเหล่านี้เข้ามาทำลายบัวหลวงจนกลายสภาพอย่างที่เห็นทั้งบึง ถุงคุกกี้ซีลกลาง ซองคุกกี้ซีล
ซึ่งนายธวัชชัย กาญพิมาย อายุ 32 ปี หนึ่งในชาวบ้านตำบลท่าลาดขาว ที่มาหาปลาเป็นประจำบริเวณบึงพระแห่งนี้ บอกว่า บัวที่เห็นกำลังแห้งตายทั้งบึงนี้ สาเหตุเกิดจากหนอนชนิดหนึ่งตัวเล็กๆ ประมาณก้านไม้ขีด ตัวมีขน เห็นมากัดกินใบบัว นานเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว ส่วนใหญ่จะกินเฉพาะบัวและต้นธูปที่อยู่ริมบึงเท่านั้น ส่วนพืชชนิดอื่นไม่เห็นเป็นอะไร ตนต้องลงไปเก็บที่ดักปลาในบึงทุกวัน มักจะโดนตัวหนอนบุ้งแบบตรงๆ แต่ไม่ได้รู้สึกระคายเคืองแต่อย่างใด ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้ มักจะเกิดขึ้นในช่วงนี้แทบทุกปี บัวทั้งหมดจะถูกหนอนพวกนี้กัดกินจนแห้งเหี่ยวกลายเป็นสีน้ำตาลทั้งบึง แต่หลังจากนี้ ก็จะเกิดใบบัวใหม่ขึ้นมาใหม่ทดแทน จนกลับกลายเป็นบึงบัวสวยงามเหมือนเช่นเคย5+ดูภาพทั้งหมด
ด้าน ผศ.ดร.จริยา รอดดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หลังตรวจสอบภาพบึงบัวและหนอนบุ้งที่ผู้สื่อข่าวส่งให้ ได้เปิดเผยว่า หนอนดังกล่าวคือ “หนอนบุ้ง” หรือบางพื้นที่เรียก “หนอนใบบัว” เป็นหนอนผีเสื้อศัตรูพืชชนิดหนึ่งของบัว เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน โดยผีเสื้อตัวเต็มวัยจะไปวางไข่ที่ใบบัว เมื่อไข่ฟักแล้ว หนอนจะกัดกินใบและดอกบัวทำให้ฉีกขาด เหลือเส้นกลางใบ จากนั้น ตัวหนอนจะเข้าดักแด้และเป็นตัวเต็มวัย ผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไปเป็นวัฏจักร ยิ่งแหล่งอาหารมีมาก การแพร่ระบาดและกัดกินก็จะยิ่งรวดเร็วอย่างที่เห็น เกินจะควบคุมได้แล้ว ถุงคุกกี้ซีลกลาง ซองคุกกี้ซีล
แต่อย่างไรก็ตาม บัวที่ถูกกัดกินทั้งหมด ยังสามารถที่จะงอกออกใบใหม่ขึ้นมาได้อีก ซึ่งในกรณีที่เป็นแปลงนาบัวของชาวบ้าน ส่วนใหญ่มักจะใช้สารเคมีการป้องกันกำจัด แต่กรณีนี้เป็นพื้นที่และแหล่งน้ำสาธารณะ จึงอาจจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามวัฏจักร ส่วนการระบาดและการทำลายที่รวดเร็วเช่นนี้ เกิดจากปัจจัยของสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสม อาทิ สภาพอากาศ ความชื้น อุณหภูมิสูงต่อเนื่อง รวมถึง พืชแหล่งอาหารที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นต้น